Future Impacts of GeoAI on Mapping

เรากำลังอยู่ในยุคที่องค์กรต่าง ๆ ใช้เทคโนโลยีเป็นกลยุทธ์สำคัญเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ เพราะเห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทุกหน่วยงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะองค์กรด้านภูมิสารสนเทศที่พัฒนาให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องทั้งในแง่ผลงานและการประมวลผลการวิเคราะห์ด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ และระบบ Automation (ระบบการทำงานอัตโนมัติ) มาใช้  เช่น Artificial intelligence (AI), Deep learning (DL) และ Geographic artificial intelligence (GeoAI) เป็นต้น และเมื่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ถูกมนุษย์นำไปใช้ย่อมแสดงความสามารถที่เกินคาด และทะลายกรอบความคิดพร้อมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้อย่างเหลือเชื่อ

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์  หรือ AI ถูกพูดถึงเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1955 โดยจอห์น แมคคาร์ธี นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในยุคนั้นการเติบโตของ AI เป็นไปอย่างเชื่องช้าเนื่องจากขาดแคลนชุดข้อมูลและไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากพอซึ่งจำเป็นต้องใช้เพื่อฝึกฝนโมเดล AI ต่าง ๆ รวมทั้งในยุคนั้นยังขาดแคลน Computational power อีกด้วย จนกระทั่งเมื่อถึงยุคที่อินเตอร์เน็ตเริ่มรุ่งเรือง ทำให้การเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากทำได้ง่าย การเติบโตของ AI จึงเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น รวมทั้งการกำเนิดของ Graphics Processing Unit (GPU) ยิ่งทำให้การประมวลผลทำได้ง่ายและทำให้การเติบโตของการใช้งาน AI รวดเร็วยิ่งขึ้น

ส่วน Deep Learning หรือ DL เป็นอีกแขนงหนึ่งของ AI ที่ใช้โครงข่ายประสาทเทียมเลียนแบบสมองมนุษย์  ซึ่ง DL ถูกนำมาใช้ในเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Self-driving car) การรู้จำเสียงพูด (Speech recognition) หุ่นยนต์ (Robotic) และการจำแนกประเภทข้อมูลภาพ (Image Classification) รวมทั้งเรื่องที่จำเป็นต้องการการตัดสินใจอย่างเร่งด่วน และต้องการการรู้จำรูปแบบ (Pattern recognition)

ทำไมเราต้องสนใจ

ในการเปลี่ยนยุคของ Mapping ที่น่าสนใจที่สุด คือ GeoAI ซึ่งเป็นส่วนผสมของเทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศเข้ากับ AI และโลเคชัน การเปลี่ยนยุคจากเครื่องพิมพ์ดีดไปสู่คอมพิวเตอร์ และขณะนี้คือ GeoAI อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นเร็วเพียงข้ามคืน แต่มันกำลังเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งแน่นอนว่ามันจะมีช่วงเวลาของรอยต่อก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่ยากที่สุดที่จะก้าวข้ามผ่านไปได้นั้นคือความกลัวว่าจะกลายเป็นส่วนที่ไม่จำเป็น เมื่อคนทำงานรู้สึกกลัวที่จะถูกแทนที่จึงเป็นเรื่องยากที่จะทำให้พวกเขามองเห็นโอกาสในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้

จริงๆ แล้วเทคโนโลยี GeoAI สร้างโอกาสมากมายให้คนทำงานด้วยการเพิ่มความรู้และความเข้าใจสร้างแต้มต่อให้กับการทำงานได้มากขึ้น การนำโอกาสเหล่านี้มาใช้จะช่วยให้คนทำงานลดความเสี่ยงและเพิ่มทักษะการทำงานให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เช่น การใช้ Remote sensing ที่ได้เริ่มนำมาแทนที่การทำงานแบบเดิมแล้ว

GeoAI ในการ Mapping ระดับประเทศ และใน Remote Sensing

การทำ Mapping ด้วยการสำรวจโลกที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ทั้งอากาศ พื้นดิน และแผ่นน้ำ นับเป็นงานที่ท้าทายอย่างยิ่ง ดังนั้นการรวมเทคโนโลยีเข้าด้วยกันเพื่อทำ Mapping ชุดข้อมูลภูมิศาสตร์ขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมขอบเขตระดับชาติจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และควรจะมีแพลตฟอร์มที่สามารถปรับเปลี่ยนได้เป็นอย่างดีเพื่อรองรับความหลากหลายทั้งแผนที่ทางอากาศ แผนที่ประเทศ และแผนการจัดการภัยพิบัติ รวมทั้งแผนที่เดินเรือไม่ว่าจะเป็นใต้ท้องทะเล ห้วงน้ำ และเขตชายฝั่ง ซึ่งแพลตฟอร์ม ArcGIS ของ Esri ได้นำความอัจฉริยะของเทคโนโลยี GeoAI มาใช้ในการจับวัตถุและแยกประเภทด้วย Point clouds และ Raster surface ซึ่งเป็นข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล (Remote sensed data)

ปัจจุบันเทคโนโลยี GeoAI ได้ถูกนำมาใช้ในองค์กรมากมาย และได้รับความสนใจจากองค์กรระดับนานาชาติจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ International Civil Aviation Organization (ICAO) ที่ได้นำเทคโนโลยี GeoAI ไปผสานการทำงานเพื่อประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น

 

 


 

ค้นหาศักยภาพของเทคโนโลยี GIS กับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม

 

อ่านเพิ่มเติม