ก้าวสู่ Smart Workplace อย่างเต็มรูปแบบด้วยเทคโนโลยี GIS

มองมุมใหม่ต่อสินทรัพย์ขององค์กร 

ปัจจุบัน Corporate campus ได้นำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้เพื่อให้พนักงานและผู้เข้าใช้บริการมีชีวิตที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พนักงานมีความสุขมากขึ้นแล้ว ยังช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย และหากนำไปใช้ในองค์กรที่มีกลุ่มอาคารและพนักงานหลายพันคนก็ยิ่งสร้างประโยชน์ได้มากเป็นทวีคูณ 

มีคำที่เรียกว่า “Positioning assistance” ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างความเหนือชั้นให้กับ Smart Campus ด้วยการใช้ IoT-based data streams, Real-time processing และเครื่องมือด้าน Location intelligence เพื่อช่วยให้ผู้บริหารวางแผนการใช้งานพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้สิ่งอำนวยความสะดวกขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างหนึ่ง คือ การช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานด้วยการปรับอุณหภูมิภายในอาคารผ่านการสังเกตแพทเทิร์นแทนการสันนิษฐาน เช่น จากเดิมการปรับอุณหภูมิใช้วิธีคาดเดาว่าควรปรับในเวลา 7:30 . เพราะเป็นเวลาที่พนักงานกลุ่มแรกเริ่มเข้าทำงาน แต่ด้วยระบบอัจฉริยะที่รับรู้ข้อมูลได้แบบเรียลไทม์จากเซนเซอร์ตามจุดต่าง ๆ ทำให้ทราบว่า ชั้น 3 ของอาคาร C ไม่จำเป็นต้องปรับอุณหภูมิเพราะพนักงานทั้งชั้นไปงานเทรดโชว์ตลอดสัปดาห์  

บางองค์กรได้นำ 3D dashboard ไปสร้างสถานที่ทำงานในรูปแบบ Digital twin ซึ่ง Smart campus ช่วยให้ Facilities manager มองเห็นภาพในรูปแบบ 3D ที่ทำให้เห็นสถานะของสินทรัพย์ต่าง ๆ ไม่ใช่แค่เพียงตำแหน่งของสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น ระบบปรับอากาศ (HVAC) ทั้งระบบความร้อน ระบบระบายอากาศ และระบบความเย็น ที่จำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ หรือเซนเซอร์ที่โถงทางเดินที่อาจทำงานผิดพลาด และด้วยเทคโนโลยี GIS ยังทำให้ 3D dashboards ดูราวกับมีชีวิตเพื่อผู้จัดการในแผนกต่าง ๆ จะได้มองเห็นสินทรัพย์ในแบบเรียลไทม์ ทั้งยังระบุตำแหน่งของสินทรัพย์ที่ควรได้รับการดูแลได้อย่างชัดเจน  

กรณีศึกษาด้าน Smart Workplace 

เมื่อองค์กรนำ Location tracking และ Visualization technique ไปใช้กับสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การจัดการ ย่อมช่วยให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจมากมาย ดังนี้ 

  • ประสิทธิภาพการทำงานและการสมัครงาน: แผนที่ในรูปแบบ 3D สามารถช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นตำแหน่งของพนักงานในทีม หากนั่งกระจัดกระจายก็ควรจัดตำแหน่งใหม่เพื่อให้เกิดการพูดคุยแบบตัวต่อตัวมากขึ้น อีกกรณีหนึ่งเมื่อผู้บริหารทราบอัตราการเติบโตล่าสุด อาจมองเห็นได้ว่าพื้นที่ขององค์กรจะใช้หมดภายใน 3 ปี จึงควรเริ่มวางแผนขยายพื้นที่ต่อไป มองในอีกมุมหนึ่งที่ทำงานที่มีความอัจฉริยะย่อมดึงดูดผู้สมัครงานเพราะเห็นถึงประโยชน์มากมายในการเข้าทำงาน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย การแชร์ข้อมูลอย่างทั่วถึง และการจัดการที่รับฟังเสียงของพนักงาน ทั้งนี้ เมื่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานมีการพัฒนามากขึ้นย่อมลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการขององค์กร และทำให้องค์กรเติบโตขึ้นอีกด้วย 
  • การจัดการใบแจ้งค่าบริการ: องค์กรที่มีการมอนิเตอร์สินทรัพย์ผ่านเทคโนโลยี GIS ย่อมได้เปรียบคู่แข่งเพราะมองเห็นได้มากกว่า เช่น มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยี GIS เพื่อดูการใช้น้ำในหลาย ๆ อาคาร ทำให้ทราบถึงบิลที่มีความผิดปกติซึ่งผู้จัดการอาจมองข้าม ทำให้ช่วยประหยัดเงินไปได้มากถึง 500,000 ดอลล่าร์ต่อปี 
  • การจัดการทรัพยากรและการวางแผนพื้นที่: การมองเห็นแผนที่ในรูปแบบ 2D และ 3D ทำให้ผู้บริหารด้านการวางแผนขององค์กรที่มีผู้เช่าหลายคนสามารถมองเห็นพื้นที่ว่างหากมีการต่อสัญญา หรือผู้เช่าต้องการหาพื้นที่เพิ่มเติม หรือในกรณีอื่น ๆ เทคโนโลยีที่ซับซ้อนของ GIS ยังช่วยให้นักวางแผนทำการเรนเดอร์ Foot traffic ทั่วทั้งอาคาร ช่วยชี้ตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้งไวไฟ กล้องวงจรปิด และตู้โทรศัพท์ การมองเห็นแผนที่ในรูปแบบ 2D และ 3D นี้จึงช่วยให้นักวางแผนมองเห็นปัญหาและโอกาสที่มิอาจมองเห็นผ่านเอกสารรายงานทั่วไปได้ 
  • การบำรุงรักษาอุปกรณ์และปรับปรุงให้ทันสมัย: งานเหล่านี้จะกลายเป็นเรื่องง่ายหากมีการติด Tag  ในแต่ละสินทรัพย์ เช่น โมเดล วันที่ได้มา สถานที่ และอื่น ๆ อย่างในกรณีที่มีเก้าอี้ทำงานกว่า 2,000 ตัวที่ผลิตผิดพลาดจากโรงงานและถูกตีกลับ การใช้เทคโนโลยี GIS สามารถช่วยชี้ตำแหน่งของอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบผ่านการเช็ค Serial number และเซนเซอร์ต่าง ๆ จึงช่วยประหยัดเวลาของทีมบำรุงรักษาได้หลายชั่วโมงหรืออาจเป็นวันเมื่อเทียบกับวิธีการตรวจสอบแบบเดิม 
  • ระบบการบันทึกการบำรุงรักษา: การใช้ Indoor positioning ช่วยให้องค์กรมีระบบการบันทึกที่แม่นยำและละเอียดถี่ถ้วน เช่น ระบบการบริหารจัดการอาคารชุด นอกจากนั้น ข้อมูลด้านโลเคชันที่อยู่ในระบบการบันทึกยังช่วยให้องค์กรตัดสินใจได้ดีขึ้นและเร็วขึ้น ทั้งยังลดรายจ่ายในการลงทุนที่ไม่จำเป็นอีกด้วย 
  • การตระหนักรู้ด้านการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก: เมื่อรวมกล้องวิดีโอเข้ากับแผนที่ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในรูปแบบ 2D และ 3D สามารถช่วยวางแผนเหตุการณ์ฉุกเฉินและบรรเทาผลกระทบเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านั้น คุณยังสามารถมอนิเตอร์การซ้อมเหตุการณ์ฉุกเฉินเพื่อดูว่ามีพื้นที่ที่พนักงานไม่สามารถหนีได้เร็วเท่าที่ควรหรือไม่ ทั้งยังช่วยให้เหตุการณ์วุ่นวายยุติได้เร็วขึ้นเพราะเจ้าหน้าที่เข้าประเมินจุดที่เสียหายได้อย่างรวดเร็ว พร้อมระบุทำเลที่มั่นใจว่ามีความปลอดภัยได้อีกด้วย หนึ่งในตัวอย่าง คือ สนามบินแห่งหนึ่งที่แน่นขนัดที่สุดในโลกได้นำเทคโนโลยี 3D GIS ไปใช้เพื่อวิเคราะห์จุดที่ควรติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AEDs) ในตำแหน่งที่สะดวกที่สุดในแต่ละเทอร์มินัลเพื่อเพิ่มความปลอดภัยอีกระดับให้กับลูกค้า 
  • การดูแลสิ่งต่าง ๆ ให้ทำงานได้ตามปกติ: สิ่งเล็ก ๆ ที่อาจเล็ดลอดจากสายตาของฝ่ายจัดการจะถูกรายงานทันทีเข้าไปใน Smart campus เช่น พนักงานอาจสังเกตเห็นว่าจอดิจิตอลไม่ทำงาน ณ โถงทางเดินแห่งหนึ่ง จึงระบุตำแหน่งของจอที่มีปัญหาผ่านการใช้แผนที่ใน Smart Campus เพื่อแจ้งฝ่ายบำรุงรักษาได้แบบอัตโนมัติ 

 

การเริ่มต้นเมื่อไม่นานมานี้ของ Indoor Mapping  

แม้ว่าเราจะใช้แผนที่ดิจิตอลเพื่อขับรถข้ามประเทศมานานแล้ว แต่เป็นเรื่องน่าแปลกว่าเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันเพิ่งถูกนำมาใช้ภายในอาคาร นั่นอาจเป็นเพราะการเห็นความจำเป็นที่ต่างกัน กล่าวคือ การจัดหาทุนสำหรับการทำแผนที่มีความสำคัญลำดับต้น ๆ มาช้านานแล้ว เพราะหากไม่รู้ขอบเขตดินแดนย่อมกีดกั้นศักยภาพการทำงานของรัฐบาล จนมาถึงยุคสมัยใหม่ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมซึ่งมาจากการสนับสนุนของรัฐบาลได้กลายเป็นพื้นฐานสำคัญของเทคโนโลยี GPS และ GIS และตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมาข้อมูลเหล่านั้นได้ถูกแชร์ในกลุ่มกว้างขึ้นไปสู่อุปกรณ์ GPS ต่าง ๆ เช่น Garmin และ Tom-Tom และถูกนำไปใช้ในสมาร์ทโฟนจนถึงทุกวันนี้ 

“บางองค์กรได้นำ 3D dashboard ไปสร้างสถานที่ทำงานในรูปแบบ Digital twin ซึ่ง Smart campus ช่วยให้ Facilities manager มองเห็นภาพในรูปแบบ 3D ที่ทำให้เห็นสถานะของสินทรัพย์ต่าง ๆ ไม่ใช่แค่เพียงตำแหน่งของสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์หมุนเวียน” 

และด้วยเหตุผลทั้งทางปฏิบัติและทางเทคนิค Location awareness ในพื้นที่เล็ก ๆ กลับพัฒนาไปได้ช้ากว่าพื้นที่ใหญ่ ๆ เหตุผลหนึ่งคือดาวเทียมไม่สามารถมองเห็นภายในอาคารได้ การวาดแผนที่ภายในรูปแบบ 2D หรือ 3D จึงจำเป็นต้องใช้พิมพ์เขียวเพื่อให้ทราบถึงความกว้าง ยาว สูงของทางเดิน ห้อง และชั้นต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งที่มองไม่เห็นในผนังอย่างท่อน้ำและสายไฟ จากนั้นจึงผสานเข้ากับระบบการจัดการข้อมูลอาคารรวมทั้งโปรแกรม CAD แล้วจึงทำการเพิ่มฟีเจอร์ต่าง ๆ ลงในแผนที่ 2D และ 3D ต่อไป เช่น อุปกรณ์สำนักงาน (คอมพิวเตอร์ ปริ้นเตอร์ และเฟอร์นิเจอร์) หรือแม้กระทั่งพนักงาน 

The Workplace IoT 

ปัจจุบันนี้ทุกอย่างที่กล่าวข้างต้นเป็นไปได้เพราะความช่วยเหลือของเทคโนโลยีอัจฉริยะซึ่งสามารถโต้ตอบได้ผ่าน Indoor location maps, Sensors, Data storage และ Visualization techniques ซึ่งบางตัวเพิ่งมีใช้ในเชิงพาณิชย์เมื่อไม่นานมานี้ 

ในภาพกว้างเรียกได้ว่า Smart Campus เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยี Indoor mapping ที่สามารถสร้างภาพ 3D ของพื้นที่จริง และ Indoor positioning system ที่ติดตามคนและสิ่งของภายในพื้นที่นั้น ๆ เหมือนดั่ง GPS ที่ติดตามรถและอุปกรณ์มือถือ ในขณะที่เทคโนโลยี GIS ก็เข้าจัดระเบียบข้อมูลเหล่านี้ให้เกิดเป็นภาพ พร้อมแสดงตำแหน่งและสถานะของแต่ละสินทรัพย์ภายใน Smart campus ซึ่งแท้จริงแล้วเบื้องหลังของ Location awareness นั่นก็คือ IoT เวอร์ชันสถานที่ทำงานซึ่งคอยอำนวยความสะดวกข้อมูลที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การติด Tag สินทรัพย์ต่าง ๆ ไปจนกระทั่ง Dashboard ต่าง ๆ สำหรับผู้บริหารและผู้จัดการในองค์กร 

 

 


 

ค้นหาศักยภาพของเทคโนโลยี GIS กับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม

 

อ่านเพิ่มเติม