รู้ทันรับมือภัยแล้งด้วยเทคโนโลยี GIS

 

กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่า “ปีนี้ฝนจะมากกว่าค่าเฉลี่ย 5%” แต่ในหลายพื้นที่ภาคเหนือ-อีสานกลาง อาจเจอฝนทิ้งช่วงในเดือน มิ.ย.-ก.ค. โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรนอกเขตชลประทานที่เจอภัยแล้งซ้ำซากทุกปี

แม้เราหยุดฝนไม่ให้ทิ้งช่วงไม่ได้…แต่เราสามารถวางแผน จัดสรร และบริหารจัดการน้ำได้ — ด้วย GIS (Geographic Information System) เทคโนโลยีที่ช่วยให้เห็น “ภาพรวม” ของสถานการณ์ และ “รายละเอียด” ของแต่ละพื้นที่ เพื่อรับมือภัยแล้งได้อย่างแม่นยำและตรงจุด

GIS ยังสามารถสนับสนุน 8 มาตรการของภาครัฐในการรับมือภัยแล้ง ได้ครบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนล่วงหน้า การจัดสรรทรัพยากร ไปจนถึงการสื่อสารร่วมกับประชาชน

 

3 วิธีที่ GIS ช่วยจัดการภัยแล้งได้จริง

วิเคราะห์-วางแผน ก่อนภัยมา: เน้นการคาดการณ์ วิเคราะห์ และวางแผนเชิงพื้นที่อย่างแม่นยำ

GIS สามารถส่งเสริมและตอบรับมาตรการรับมือภัยแล้ง ในส่วนของการคาดการณ์และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง และเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ด้วยการ

  • วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง จากปัจจัยต่างๆ เช่น พื้นที่ที่เกิดภัยแล้งซ้ำซาก ปริมาณน้ำฝน แหล่งน้ำ การใช้ที่ดิน ดัชนีความเครียดทางการเกษตร (Agricultural Stress Index – ASI) หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำ
  • วิเคราะห์และสร้างแบบจำลองการไหลของน้ำ พื้นที่รับน้ำ และจุดเสี่ยงขาดแคลนน้ำ/เสี่ยงภัยแล้ง จากข้อมูลภูมิประเทศ (DEM)
  • วิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมในการจัดตั้งแหล่งน้ำสำรอง ที่จะช่วยสนับสนุนการวางแผนแหล่งน้ำสำรองและนโยบายจัดสรรน้ำในระดับท้องถิ่น
  • วิเคราะห์คุณภาพน้ำในแต่ละพื้นที่ เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค

 

 

บริหาร-ปฏิบัติ ให้เกิดผลจริง: เน้นการจัดการทรัพยากรน้ำและการใช้น้ำในพื้นที่จริง โดยมีข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ

GIS สามารถส่งเสริมและตอบรับมาตรการรับมือภัยแล้ง ในส่วนของการสร้างความมั่นคงน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำ รวมไปถึงการติดตามและประเมินผลการดำเนินการ ด้วยการ

  • สำรวจพฤติกรรมการใช้น้ำจริงในพื้นที่เกษตรและการแจ้งปัญหาเรื่องน้ำ โดย Integrate กับ Social Platform เช่น LINE OA ฯ และเป็นการใช้งานในรูปแบบของผ่าน Smart Form บนมือถือ ทำให้ง่ายต่อการใช้งานและเข้าถึงของประชาชน
  • ติดตามภาพรวมสถานการณ์น้ำแบบ Real-Time รวมไปถึงข้อมูลการจัดสรรน้ำเทียบกับเป้าหมายตามแผน ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อปรับแผนปฏิบัติแบบ Real-Time ให้สอดคล้องกับสถาณการณ์ปัจจุบัน เช่น การปรับรอบการจัดส่งน้ำหรือจำกัดการใช้น้ำบางช่วงเวลา เป็นต้น
  • วิเคราะห์แนวโน้มการใช้น้ำ ช่วงเวลาไหนใช้น้ำมากผิดปกติ พื้นที่ใดมีประสิทธิภาพการใช้น้ำต่ำกว่ามาตรฐาน เพื่อจัดสรรรถบรรทุกน้ำหรือเครื่องสูบน้ำและย้ายทรัพยากรไปยังพื้นที่ที่มีความต้องการสูง

 

 

สื่อสาร-สร้างการมีส่วนร่วม: เน้นการให้ข้อมูลกับประชาชนและสนับสนุนการจัดการน้ำร่วมกันในระดับชุมชน

GIS สามารถส่งเสริมและตอบรับมาตรการรับมือภัยแล้ง ในส่วนของการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชนและสร้างการรับรู้ผ่านการประชาสัมพันธ์ ด้วยการ

  • สร้างความเข้าใจในเรื่องภัยแล้ง การจัดการน้ำ หรือแผนสำหรับพื้นที่เพาะปลูกได้ง่ายและน่าสนใจ โดยเล่าเรื่องหรืออธิบายสถานการณ์น้ำผ่านการผสมผสาน ระหว่างแผนที่ ภาพ ข้อความ ในรูปแบบ Interactive ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน เช่น “ฝนทิ้งช่วงปี 68 – พื้นที่ไหนเสี่ยง?” ฯ ที่เผยแพร่บนช่องทางโซเชียลมีเดียที่เข้าถึงได้ง่าย
  • จัดทำแอปพลิคชันสำหรับแชร์ข้อมูลเชิงพื้นที่ให้คนในพื้นที่ติดตามได้แบบเรียลไทม์ เช่น แหล่งน้ำใกล้บ้าน พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำประจำวัน ฯ บนมือถือ เพื่อความสะดวกต่อชุมชนและคนในพื้นที่
  • สร้างเว็บไซต์หรือ Portal เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาครัฐและชุมชน สำหรับใช้เผยแพร่ข้อมูลสถานการณ์น้ำ แผนจัดการน้ำ และเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นหรือมุมมอง เช่น การตอบแบบสำรวจ การร้องเรียน แจ้งข้อมูลพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ฯ เพื่อเห็นปลายทางหรือวิธีการรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งที่ตรงกัน

 

 

 

.