การเพิ่มขีดความสามารถของ Water Utility ด้วยระบบแผนที่อัจฉริยะ

การเปลี่ยนแปลงสู่โลกยุคดิจิทัลในปัจจุบัน ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่ดำเนินการทางด้านสาธารณูปโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านการประปา มีความสะดวก รวดเร็ว และสร้างอัจฉริยภาพที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ระบบ Sensor หรือระบบ IoT ที่สนับสนุนการเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ แบบ Real Time ทำให้สามารถบริหารจัดการลดน้ำสูญเสีย การปรับปรุงคุณภาพน้ำ และการควบคุมแรงดันน้ำในระบบ รวมถึงสามารถเพิ่มศักยภาพเพื่อรองรับการให้บริการแก่ประชาชน นอกจากนี้ การวิเคราะห์ระบบโครงข่ายบนแผนที่อัจฉริยะ ยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถคาดการณ์ระบบการจ่ายน้ำในอนาคต เพื่อให้สอดรับกับความต้องการการใช้น้ำและรองรับการให้บริการด้านต่าง ๆ สำหรับประชาชน

ในปัจจุบันหน่วยงานสาธารณูปโภคต่าง ๆ ส่วนใหญ่ ได้มีการใช้งาน ArcGIS Platform โดยเน้นไปที่การแสดงผลข้อมูลตำแหน่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ในแผนที่  ได้แก่ เส้นท่อ (pipes), วาล์ว (valves), ปั้ม (pumps), มาตรวัดน้ำ(meters) และอุปกรณ์อื่น ๆ เท่านั้น แต่ด้วยเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบัน  ArcGIS Platform ยังมีขุมพลังอื่นๆ ที่สามารถใช้ในการขับเคลื่อนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่าง ๆ ได้ เช่น ผู้ใช้งานสามารถใช้งาน ArcGIS Insights เพื่อระบุรูปแบบและแนวโน้มจากข้อมูลที่รวบรวมมาได้ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องการตรวจสอบการแตกรั่วของน้ำ เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลการไหลจากหัวจ่ายน้ำเพื่อระบุพื้นที่ที่ค่าการไหลที่บันทึกไว้ต่ำกว่า PSI ที่ต้องการ จากนั้นจึงประเมินพื้นที่ไหลต่ำร่วมกับท่อส่งน้ำ ซึ่งเผยให้เห็นว่ามีการไหลต่ำบางส่วนอยู่ภายในพื้นที่ก่อสร้างใหม่ โดยการเปรียบเทียบและวิเคราะห์นี้ เจ้าหน้าที่จะสามารถระบุพื้นที่ที่ควรจัดลำดับความสำคัญสำหรับการตรวจสอบการแตกรั่ว ส่งผลให้ประหยัดแรงงาน โดยการระดมทีมและอุปกรณ์ในพื้นที่ที่เป้าหมายที่มีลำดับความสำคัญสูงก่อน

ตัวอย่างแรกที่เรานำ ArcGIS Platform มาช่วยในส่วนของงานสาธารณูปโภค ด้านประปา คือ ช่วยให้ผู้ใช้งานเห็นรูปแบบของข้อมูล รวมถึงการจัดกลุ่มของข้อมูลตำแหน่งแจ้งเหตุ เพื่อดูแนวโน้มความผิดปกติของการทำงานที่อาจเกิดขึ้น และด้วยเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ บน ArcGIS Insights ทำให้เราสามารถจัดกลุ่มข้อมูลจุดแตกรั่ว และวิเคราะห์ความหนาแน่นของความถี่ที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงรูปแบบ แนวโน้ม และการป้องกันการเกิดเหตุการณ์ซ้ำในอนาคต

ภาพที่ 1 แสดงตัวอย่าง Heat Map ที่แสดงจุดแตกรั่ว ซ้ำซาก

อีกหนึ่งตัวอย่างที่จะชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร ด้วยแผนที่อัจฉริยะ คือ การนำเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลโครงข่าย ที่จะช่วยให้เราทราบตำแหน่งลูกค้าที่ได้รับผลกระทบหากเราปิดวาล์ว และมีการหยุดจ่ายน้ำ ทั้งนี้ ในส่วนของระบบ เราสามารถที่จะค้นหาตำแหน่งรั่วได้อย่างรวดเร็ว สามารถจ่ายงานให้พนักงานภาคสนามในพื้นที่  และ สุดท้าย จะมีกระบวนแจ้งสถานะกลับมาให้กับประชาชนแบบ Real Time

ภาพที่ 2 แสดงระบบการวิเคราะห์โครงข่าย เพื่อแสดงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

 

ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ Water Utility Solution, โปรดแวะมาเยี่ยชมที่เวบไซต์ของเราที่  Empowering Water Utilities with Business Intelligence ebook | How to make data-driven decisions with analytics (esri.com) หรือ ติดต่อเราที่  (+66) 02-678 0212

 


 

ค้นหาศักยภาพของเทคโนโลยี GIS กับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม

 

อ่านเพิ่มเติม